วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปุ๋ยชีวภาพ(Biofertilizer)

การใช้ปุ๋ยชีวภาพในประเทศไทย

ปุ๋ยชีวภาพ (Biofertilizer) หมายถึง วัสดุที่มีเชื้อจุลินทรีย์เป็นตัวอออกฤทธิ์ (Active ingreddient) ในการก่อให้เกิดปฏิกิริยา  เพื่อการทำให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ต้องการ  เช่น เชื้อไรโซเบียมจะต้องมีแบคทีเรียในสกุลไรโซเบียมเป็นตัวการสำคัญ  ซึ่งเมื่อใส่ลงไปในดินพร้อมกับปลูกถั่วก็จะเข้าไปสร้างปมที่รากถั่ว  ช่วยให้ถั่วใช้ธาตุไนโตรเจนในอากาศเป็นปุ๋ยได้  หรือเชื้อราไมโคไรซ่า  จะเข้าสู่รากพืชและช่วยดูดซับธาตุอาหารในดิน  โดยเฉพาะฟอสฟอรัสให้พืชใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตได้  จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นปุ๋ยชีวภาพ  จึงแบ่งได้  2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ  กลุ่มที่ตรึงไนโตรเจนในอากาศ (Biological Nitrogen Fixation  หรือ  BNF)  และกลุ่มที่ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารพืชได้รับธาตุอาหารอื่นๆที่นอกเหนือจากไนโตรเจนในอากาศ

การใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว

ปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำเอาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืชมาเพาะเลี้ยงจำนวนมากๆแล้วเติมลงในดินที่จะเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการเหล่านี้เจริญเติบโตเพิ่มปริมาณและส้รางสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อดิน  ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์  จุลินทรีย์ที่ใช้ในการทำปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าว คือ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวหรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน คือ พืชชั้นต่ำที่มีขนาดเล็กมาก  ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ด้วยกำลังขยาย 400 เท่า  จะเห็นลักษณะพิเศษของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว  เป็นลักษณะเส้นสาย  ซึ่งประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ  จำนวนมาก  เซลล์ส่วนใหญ่จะมีสีน้ำเงินแกมเขียว  เรียกว่าเซลล์พื้นฐานของสาหร่าย ทำหน้าที่หาแร่ธาตุอาหารพืชและสามารถปรุงอาหารได้เองโดยการสังเคราะห์แสง  และมีเซลล์พิเศษเรียกว่า  เฮเทอโรซีส (Heterocyste) นั้นแทรกอยู่ในระยะเซลล์นี้  มีลักษณะสีจางและมีผนังเซลล์หนาเห็นได้ชัด  เซลล์มีหน้าที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศจากรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นสารประกอบไนโตรเจน  โดยมีเอนไซม์ที่มีชื่อว่า  ไนโตรจีเนส  ทำหน้าที่นี้โดยอาศัยพลังงานแสงแดดร่วมในกระบวนการ  ส่วนเซลล์อีกพวกหนึ่ง คือ เซลล์ที่เรียกว่า อะคีเนต (Akinate)  หรือสปอร์  ทำหน้าที่สืบพันธุ์  มีความสามารถพิเศษในการทนสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม  เช่น ทนความแห้งแล้ง  ทนแล้ง  และทนหนาวได้ที  เมื่อได้รับสภาพเหมาะสมก้จะออกเป็นสาหร่ายเส้นใหม่

ชนิดของสาหร่ายที่จะนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

1. เจริญเติบโตได้รวดเร็วและสามารถเพาะเลี้ยงได้ในปริมาณมาก
2. สามารถตรึงไนโตรเจนและปลดปล่อยสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นข้าวได้ดี
3. ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี  ขึ้นได้ดีในนาทุกแห่ง
4. มีความคงทนต่อสารเคมีทางการเกษตร เช่น ยาปราบศัตรูพืช ยาปราบวัชพืช

ปุ๋ยชีวภาพโดยทั่วไปประกอบด้วยสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว 6 สายพันธุ์ ได้แก่  Anabena  sp., Calothrix  sp., Cylindrospermum  sp., Nostoc  sp., Scytonema  sp. และ Tolypothrix  sp.

ที่มา หนังสือ ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น