วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

พันธุ์ข้าว กข.6


นิเวศวิทยา ข้าวนาสวน นาน้ำฝน


ชนิดของพันธุ์ข้าว ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 21 พฤศจิกายน

แหล่งแนะนำให้ปลูก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ในพื้นที่นาน้ำฝน

ประวัติ ได้จากการชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105

โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไปอาบรังสีแกมม่าขนาน 20 กิโลกรัม

แล้วนำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาปลูกคัดเลือกลักษณะต่าง ๆ ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน

และสถานีทดลองข้าวพิมาย คัดเลือกได้สายพันธุ์ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์

ข้าว KDML105’65G2U-68-254 เป็นสายพันธุ์ข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตสูง ซึ่ง

คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าวได้มีมติให้ออกใช้ขยายพันธุ์ได้ เมื่อวันที่ 5

พฤษภาคม 2520 ให้ชื่อว่า กข 6


ลักษณะประจำพันธุ์ กข 6 เป็นข้าวต้นสูง ความสูง 150 ซม. ทรงกอตั้ง แตกกอดี ลำต้นแข็งแรงปานกลาง

ปล้องกาบใบและใบมีสีเขียว มีขนบนใบ มุมของยอดแผ่นใบดก ข้อต่อระหว่างใบและ

กาบใบสีเขียวอ่อน ใบธงค่อนข้างนอน ลิ้นใบรูปร่างแหลมมี 2 ยอด หูใบมีสีเขียวอ่อน

ปลายยอดดอกสีฟาง กลีบของดอกสีฟาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว รวงยาวแน่น ระแง้

ค่อนข้างถี่ คอรวงยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล ปลายยอดเมล็ดสีฟาง มีขนบนเมล็ด

กลีบรองดอกสั้น เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.2 มม. กว้าง 2.3 มม. หนา 1.8

มม. ข้าวสุกนึ่งนุ่มหอม ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์

ผลผลิต เฉลี่ยประมาณ 670 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด ประมาณ 27.0

กรัม

ข้อดี ให้ผลผลิตที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทนแล้ง และต้านทานต่อ

โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคไหม้ ข้าวสุกนึ่งมีลักษณะนุ่มและมีกลิ่นหอม

ข้อจำกัด ไม่ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
 
ที่มา http://www.doae.go.th/

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ทำความรู้จักโทงเทงฝรั่ง หรือ เคปกูซเบอร์รี

เมื่อวาน(28 ม.ค.54) ได้มีโอกาสเดินเที่ยวชมงานเกษตรแฟร์ ที่เกษตรบางเขนค่ะ ได้เห็นผลไม้ชนิดหนึ่ง หน้าตาคล้ายๆ โทงเทง ที่เรารู้จักมาตั้งแต่เด็กทางบ้านที่อีสานเรียก ส้มโป๊ะ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น โทงเทง  ปุงปิง  ตอมต๊อก  หญ้าถงเถง มะถ่องเข้า ตะเงหลั่งเช้า  โคมจีน  เผาะแผะ ส่วนโทงเทงฝรั่งที่ว่านี้ จะมีขนาดใหญ่กว่าโทงเทงที่เคยเห็นตามบ้านเรานะคะ

ที่บูธโครงการหลวงมีผักต่างๆมากมายหลายชนิด มีสตรอเบอรี่ รวมทั้งโทงเทงฝรั่งด้วย ติดป้ายชื่อว่า  เคปกูซเบอร์รี กล่องละ 50 บาท ก็เลยซื้อมาเพราะความอยากรู้ อยากลอง

พอมาแกะดู ก็โทงเทงดีๆนี่เอง เหมือนกันทั้งหน้าตาและรสชาด เพียงแต่ลูกโตกว่า

กล่องละ 50 บาท

ลูกใหญ่มาก

ข้างในจะเป็นแบบนี้ค่ะ รสชาดคล้ายๆมะเขือเทศ หวานๆเปรี้ยวนิดๆ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Physalis Peruviana L.
ชื่อวงศ์:  Solanaceae
ชื่อสามัญ:  cape gooseberry, Strawberry tomato, Husk tomato และ Ground Cherry
ชื่อพื้นเมือง:  โทงเทงฝรั่ง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพืชประเภทเนื้อไม้นิ่ม ข้ามปี แต่นิยมปลูกปีเดียว ลำต้นสูง 0.90-1.8 เมตร กิ่งก้านแผ่กระจายออกเป็นพุ่มสีค่อนข้างม่วง
    ใบ  อ่อนนุ่ม รูปหัวใจ ยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร ตาดอกเกิดขึ้นตรงข้อกิ่ง
    ดอก  สีเหลืองเข้ม มีจุดสีน้ำตาลม่วง 5 จุด ที่โคนดอก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ หลังกลีบดอกร่วง กลีบเลี้ยงสีเขียวจะหุ้มผลไว้ จากนั้น 70-80 วัน กลีบเลี้ยงเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว
    ฝัก/ผล  ข้างในมีสีเหลืองทองจึงเก็บเกี่ยวได้ ผลเคปกูซเบอรี่มีลักษณะกลมเกลี้ยง ผิวเรียบเป็นมัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 นิ้ว เนื้อผลนุ่มฉ่ำแทรกด้วยเมล็ดสีเหลืองรสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ คล้ายสับปะรดผสมมะเขือเทศ หรือมะเขือเทศผสมองุ่น แต่มีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากกว่า
การปลูก:  ต้องเพาะเมล็ดประมาณ 1 เดือนก่อน แล้วจึงย้ายกล้าปลูก ใช้ระยะ 1.5x1.5 หรือ 2x2 เมตร
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
     -    อาหาร เช่น แยม ซอส พายน์ พุดดิ้งกวน ไอศครีม รับประทานเป็นสลัดผลไม้ น้ำปั่น จุ่มน้ำผึ้ง จุ่มผลด้วยช็อกโกแลต
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกาใต้แถบประเทศเปรู ชิลี
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ผล
สรรพคุณทางยา: 
     -    ป้องกันไข้หวัด (2009)
     -    ภูมิแพ้
     -    วิตามินเอ ป้องกันอาการตาบอดในที่มืด ทำให้สายตาดี ผิวพรรณสวย ผมสวยดกดำ


วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

สตรอเบอรี่

ลักษณะทั่วไปของสตรอเบอรี่

            สตรอเบอรี่จัดเป็นพืชหลายปี แต่โดยทั่วไปจะปลูกปีเดียวแล้วจะมีการปลูกใหม่ในปีถัดไป ลักษณะการเจริญเติบโตจะแตกกอเป็นพุ่มเตี้ย สูงจากพื้นดิน 6 - 8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8 -12 นิ้ว ระบบรากส่วนใหญ่อยู่ระดับลึกประมาณ 12 นิ้วจากผิวดิน ลำต้นปกติยาว 1 นิ้ว ความยาวของก้านใบขึ้นกับพันธุ์ ขอบใบหยัก ใบส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 ใบย่อย ตาที่โคนของก้านใบจะพัฒนาเป็นตาดอก ลำต้นสาขา ไหล หรือพักตัว โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบรองดอกสีเขียว กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองและเกสรตัวเมียเรียงอยู่บนฐานรองดอก ซึ่งฐานรองดอกนี้จะพัฒนาเป็นเนื้อของผล ส่วนเมล็ดอยู่ติดกับผิวนอกของผล ผลมีหลายรูปทรง เช่น ทรงกลม ทรงกลมแป้น ทรงกลมปลายแหลม ทรงแหลม ทรงแหลมยาว ทรงลิ่มยาว และทรงลิ่มสั้น มีหลายขนาดขี้นอยู่กับพันธุ์ ผลจะมีสีเขียวในระยะแรก และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม รสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมน่ารับประทาน

สภาพดินฟ้าอากาศ

           ดินที่ปลูกสตรอเบอรี่ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ถ้าน้ำขังจะทำให้รากเน่า ดินควรมีความเป็นกรดเล็กน้อย ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ( PH ) อยู่ระหว่าง 5..5 - 6..5 สภาพอากาศหนาวเย็นหรือฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิ 13 - 15 องศาเซลเชียล สตรอเบอรี่จะเริ่มสร้างตาดอก รวมทั้งในสภาพวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง สำหรับพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำตอนกลางคืนเป็นเวลาค่อนข้างยาวนาน หลังจากปลูกต้นสตรอเบอรี่ลงแปลงแล้ว จะทำให้มีความต่อเนื่องของการออกดอกชุดต่อๆมามากขึ้น

พันธุ์

         พันธุ์สตรอเบอรี่ มีความแตกต่างกันมากในการตอบสนองต่ออุณหภูมิ และช่วงแสงของวันในการสร้างตาดอก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ประเภทที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ ความยาวของวันสั้นกว่า 11 ชั่วโมง (ชั่วโมงกลางวัน) ซึ่งในประเทศไทยปลูกบนที่สูง ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์16 พัยธุ์พระราชทานเบอร์70 เบอร์35 และเนียวโฮ เป็นต้น เรียกว่า Junebearing cultiver
ประเภทที่ต้องการช่วงแสงของวันยาวเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนใหญ่ปลูกนอกฤดู ได้แก่ พันธุ์เจนีวา โอซาค บิวตี้ เรียกว่า Everbearing cultivar
ประเภทที่ออกดอกได้ทั้งสภาพวันสั้นและสภาพวันยาว แต่มีปัญหา เรื่องการผลิตไหลได้น้อย ได้แก่ พันธุ์เซลวา ทริบิวเต้ และทริสตาร์ เป็นต้น เรียกว่า Dayneutral cultiver
พันธุ์ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน เบอร์ 16, 20, 50, 70 เนียวโฮ แลัเซลวา เป็นต้น ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะที่แตกต่างกัน สำหรับการผลิตเป็นการค้านั้น จะผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ในลักษณะของผลรับประทานสดและผลผลิตเพื่อส่งโรงงานแปรรูป
พันธุ์เพื่อการบริโภคสด ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 70 เบอร์50 และเบอร์20 เป็นต้น
พันธุ์เพื่อการแปรรูป ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์16 และเซลวา

การขยายพันธุ์
 
           การขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ ทำได้หลายวิธีโดยขึ้นกับวัตถุประสงค์และลักษณะประจำพันธุ์ ได้แก่
การใช้ไหล ขยายต้นไหลจากพันธุ์ที่สามารถให้ไหลได้ดี
การแยกต้น แยกต้นจากพันธุ์ที่ออกไหลไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกพันธุ์ป่า
การใช้เมล็ด ใช้ในกรณีที่มีการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่เกิดขึ้น
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นขบวนการผลิตต้นไหลที่ปลอดโรค และสามารถขยายพันธุ์ให้มีปริมาณต้นไหลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การขยายพันธุ์ที่นิยมปฎิบัติจะใช้ตาที่เจริญเติบโตมาจากต้นแม่ตรง ซอกของก้านใบ ซึ่งเรียกว่า ไหล โดยใช้ไหลจากต้นแม่ที่ปลอดโรคจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูกเป็นต้นใหม่ ต้นไหลที่จะนำมาปลูกควรมีขนาดพอเหมาะ ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป การใช้ต้นไหลที่ผ่านการเกิดตาดอกบนพื้นที่สูงมาแล้ว จะทำให้ผลผลิตเร็วและมีช่วงการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น

การปลูกและการดูแลรักษา

             การปลูกสตรอเบอรี่ มี 2 ช่วงที่สำคัญ คือ การปลูกเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการปลูกเพื่อผลิตต้นไหล
การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต
ควรปลูกในเดือนกันยายน - กลางเดือนตุลาคม โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า ต้นไหลมาปลูก

ที่มา http://www.doae.go.th/